tfex, blocktrade,

TFEX

TFEX
Share this

Note From การใช้ Block Trade วิเคราะห์แนวโน้มหุ้น

ข่าวดี ! Block Trade เป็นธุรกรรมที่ต้องเปิดเผยในทุกสิ้นวันทำการ ในการเล่นหุ้นปกติ นักลงทุนอาจไม่มีสิทธิ์รู้ได้เลยว่าหุ้นตัวไหน รายใหญ่เข้าเมื่อไหร่ เพราะสิ่งที่ปรากฏ(ไม่)ชัดเจน มีเพียงแค่การเคลื่อนไหวของราคา & ปริมาณเท่านั้น แต่สำหรับ Block Trade กลับไม่ใช่แบบนั้น เพราะเมื่อใครก็ตามที่ทำธุรกรรม Block Trade ตัวเลขทั้งหมดจะปรากฏอยู่ใน “สถานะคงค้าง” ของ Stock Futures หรือที่เราเรียกว่า OI ซึ่งในตลาด TFEX การซื้อขาย Stock Futures เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในกระดาน Block Trade ดังนั้น จึงใช้อนุมานได้ทันทีว่า

ข้อควรระวัง 4 ประการ คือ

1.OI ไม่ได้บอกทิศทาง อย่างที่รู้กันว่า Block Trade สามารถเปิดสถานะได้ทั้งทางฝั่ง Long และฝั่ง Short โดยไม่ว่าจะฝั่งไหนก็ล้วนแล้วแต่ทำให้ยอด OI ก็จะเพิ่มขึ้นทั้งคู่ แม้ว่าผลทางสถิติจะบอกว่า 80-90% จะเป็นตัวเลขทางฝั่ง Long ก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้การใช้วิเคราะห์ทิศทางอย่างถูกต้อง อาจต้องดูการเคลื่อนไหวของราคาเป็นส่วนประกอบ

2.OI สามารถปลอมขึ้นมาได้ ลองคิดดูนะครับ หากถ้าเจ้ามือรู้ว่านักลงทุนเริ่มสังเกต OI เพื่อใช้บ่งบอกทิศทางหุ้น เขาก็สามารถหลอกพวกเราได้ ด้วยการหาพอร์ต 2 พอร์ตมาเปิดสถานะ Block Trade ในทางตรงกันข้ามกัน เพียงเท่านี้ OI ก็เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความขัวร์ ให้สังเกตจาก Volume ของหุ้นในวัน(ช่วง)นั้นจะต้องมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นด้วย

3.เจ้ามือไม่ได้เก่งทุกคน สิ่งที่เรายืนยันได้ คือ คนที่เข้ามาเล่น Block Trade เป็นพันเป็นหมื่นสัญญา จะต้องมีเงินและมีความมั่นใจในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถหรือข้อมูลของเขาจะถูกต้องเสมอ ทำให้บางครั้งพวกเขาเองก็เจ็บและ cut loss ออกไป ส่งผลให้ราคาไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่เราคาดหวังไว้

4.หุ้นทุกตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Block Trade แม้ Block Trade จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักที่รายใหญ่ใช้เก็บ/ทำราคาหุ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นทุกตัว จะสามารถสังเกตพฤติกรรม Block Trade ได้ เพราะบางตัวก็ไม่มีคนเล่นแต่ราคาขึ้น-ลงอย่างมีนัยสำคัญ สุดท้ายทุกท่านจำเป็นต้องดู Factor อื่นเพิ่มเติมด้วย

จากรูปแสดงให้เห็นว่า OI นั้นเกิดขึ้นจากนักลงทุนรายใหม่ 2 คน ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยคนหนึ่งมองขึ้น (Long) ในขณะที่อีกคนนั้นมองลง (Short) จึงทำการเปิดสถานะมาเดิมพันความคิดของตนเอง และกลายเป็นคู่สัญญากัน แต่หลังจากนั้น ธุรกรรมในตลาดสามารถทำให้ OI เปลี่ยนแปลงได้ 3 กรณี กล่าวคือ…

กรณีที่ 1 นักลงทุนที่อยากเปิด Long เพิ่ม มาพบกับนักลงทุนที่อยากเปิด Short เพิ่ม โดยในที่นี้จะเป็นลักษณะคล้ายกับที่อธิบายไปข้างต้น ซึ่งจะทำให้ค่า OI ในระบบปรับตัวเพิ่มขึ้น

กรณีที่ 2 หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากเปิดเพิ่ม แต่อีกฝ่ายเลือกที่จะปิด โดยในการปิดสถานะนั้น เขาอาจทำเพื่อ Cut loss หรือ Take Profit ก็เป็นได้ และในกรณีการพบกันในความต้องการที่แตกต่างกันนั้น ทำให้มือใหม่หลายคนอาจสับสนว่าจะเป็นอย่างไร แล้วจะปิดสถานะได้หรือไม่? ในเมื่ออีกฝั่งไม่ยอมปิด แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะการปิดแบบนี้จะหมายถึง การโอนไปให้นักลงทุนท่านอื่นถือสถานะต่อจากท่าน และในกรณีนี้เองที่ OI ในระบบจะ ไม่เปลี่ยนแปลง

กรณีที่ 3 กรณีสุดท้ายนี้ คือ การพบกันของผู้ที่ต้องการปิดสถานะ กับผู้ที่ต้องปิดสถานะ ก็เป็นกรณีเดียวกันกับกรณีแรกแต่ตรงกันข้าม ดังนั้นแบบนี้ OI ในระบบจะลดลง

ทุกคนรับรู้ว่า Block Trade ก็เป็น Futures อย่างหนึ่ง แล้วทำไมเราจึงบอกว่าสามารถใช้ได้ดี? มันควรจะเกิดกรณีที่ซับซ้อนแบบเดียวกับที่เรากล่าวไปข้างต้น มิใช่หรือ? คำตอบคือ ไม่ใช่เลยครับ! เพราะโครงสร้างของธุรกรรม Block Trade เป็นแบบ 2 มิติอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน คือเปิดต้องพบเปิด และเมื่อปิดต้องพบปิด โดยไม่มีมือที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง

ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ พวกท่านจำขั้นตอนการทำ Block Trade กันได้ใช่ไหมครับ? มันคือการตกลงกันของคน 2 คน คือ นักลงทุนกับทาง Broker ดังนั้น ไม่มีทางจะมีมือที่สามในตลาด Block Trade ! กล่าวคือ เมื่อนักลงทุนตัดสินใจเปิด Broker ก็จะเปิดสถานะเช่นกัน และเมื่อใดที่นักลงทุนตัดสินใจปิด Broker ก็จะต้องปิดเช่นเดียวกัน ไม่มีทางที่คู่สัญญาจะถูกโอนไปให้คนอื่นรับช่วงต่อ มันจึงง่ายต่อการวิเคราะห์เมื่อเทียบกับการซื้อขาย Futures ในตลาดปกติ

ก่อนอื่นเรามาสร้างโจทย์คำถามเพื่อให้ทุกคนคิดต่อในมุมมองเดียวกันก่อนนะครับ กล่าวคือ หากถ้าทุกคนได้ยินข่าววงในมาว่าบริษัท XXX ที่มีใน Single Stock Futures กำลังประกาศกำไรออกมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยยังไม่มีใครทราบ พวกท่านจะทำอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด โดยเราเชื่อว่าทุกท่านคงนึกถึงการทำกำไรให้มากมายที่สุด และหนึ่งในเครื่องมือที่ทำกำไรได้สูงสุดในตลาด ก็คือ Block Trade นี่แหละครับ เราจึงบอกว่าตราบใดก็ตามที่มีข่าวดีหรือร้ายออกมา หากมีคนมั่นใจ อย่างไรก็หนีไม่พ้นการใช้ Block Trade

OI จะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าหุ้นตัวนี้กำลังถูกเก็บหรือไม่ อย่างที่ทุกคนได้ทราบจากครึ่งแรกของบทความว่า OI หรือสถานะสะสมนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ้นวันทำการ ดังนั้นจึงสามารถทำให้เราทราบได้ว่า ถ้า OI ขึ้นแสดงว่ามีรายใหญ่เข้ามาสะสมหุ้นใน Block Trade และถ้าหาก OI ลดแสดงว่าเขาปิดทำกำไรออกไปแล้ว

เรื่องที่โหดร้าย คือ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเขาเก็บ Long หรือ Short อันนี้เป็นเรื่องเราไม่มีทางทราบได้ 100% ครับ แต่เราสามารถตรวจสอบอย่างคร่าวๆ ได้ เพียงแต่ข้อมูลนั้นยังอยู่ในขั้นตอน regression ความสัมพันธ์ และต้องใช้เวลาทดสอบความถูกต้องของข้อมูลจึงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่อยากให้พวกท่านรับรู้ไว้นะครับ ว่าโดยส่วนใหญ่ 80% ของธุรกรรม Block Trade เป็นฝั่ง Long โดยมีเหตุผลสำคัญ คือ

  1. นักลงทุนมีความคุ้นชินในการลงทุน (ทำราคา) ในฝั่งขาขึ้นเป็นหลัก เหมือนการเล่นหุ้นปกติ
  2. ธุรกรรม Block Trade ฝั่ง Short ยุ่งยากกว่ากว่าฝั่ง Long เพราะต้องหาหุ้นมาขาย ถ้าหาไม่ได้ก็ Short ไม่ได้ ดังนั้น การตีความ OI ที่เพิ่มขึ้น จึงยืนพื้นและตีความฝั่ง Long เป็นหลัก

มาถึงอีกเนื้อหาสำคัญของเรื่องนี้ นั้นคือสัญญาณเฝ้าระวังที่ทุกคนต้องจับตาดูเพิ่มเติม ซึ่งสัญญาณเหล่านี้จะยังไม่เป็นการที่เราต้องรีบหนีแต่เราต้องจับตาดูหุ้นเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากถ้าพวกท่านเป็นนักลงทุนรายใหญ่แล้วต้องการทุบหุ้น พวกท่านจะเลือกหุ้นที่ทุบอย่างไร ? แน่นอนว่าเขาต้องเลือกหุ้นที่มีความที่เปราะบางที่สุด … โดยความเปราะบางในทีนี้ จะหมายถึง “ตัวที่นักลงทุนพร้อมจะถูก Force sell ไวที่สุด”ดังนั้นเราลองมาดูสัญญาณว่าหุ้นที่มีโอกาสถูก Force sell 3 สัญญาณต่อจากนี้

1.ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมาสักระยะแล้วและยังขึ้นต่อ แต่ OI เริ่มหยุด !

คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากมาก หากถ้านักลงทุนมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นแต่ไม่ใช้ Block Trade ในการเก็บหุ้น ดังนั้นเมื่อหากเราเห็นราคาขึ้นปรับตัวขึ้น แต่ OI เริ่มแสดงท่าทีว่าไม่อยากเก็บต่อถ้าเมื่อไรก็ตามที่หุ้นขึ้นสูงมากในระดับนึงแล้ว OI ไม่เพิ่มขึ้นตาม นั้นเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทุกคนต้องเริ่มสงสัยได้แล้วว่า ทำไมรายใหญ่ที่มีเงินถึงไม่เก็บต่อ นั้นอาจเป็นสัญญาณที่รายใหญ่กำลังบอก พอแล้ว , มากกว่านี้มันเสี่ยงเกินไปแล้ว , ซึ่งพวกท่านเองที่มีกำไรก็ต้องจ้องหรือหาจังหวะออกเช่นเพราะนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าหุ้นตัวนั้นกำไรจบรอบแล้ว

2.ปริมาณ OI คงค้างเมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

พวกท่านลองคิดดูว่าหากปริมาณคงค้างใน Block Trade สะสมสูงถึงมูลค่า 100 ล้าน แต่หุ้นตัวนั้นซื้อขายเพียงวันละ 10 ล้าน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรหากถ้าราคาปรับตัวลดลง แน่นอนว่าปริมาณการซื้อขายไม่มีทางรองรับได้พอการถูก Force sell อย่างแน่นอน ทำให้เกิดการ Panic ได้โดยง่าย และในกรณีเลวร้ายที่สุด คือ ต่อให้พวกท่านอยากขาย พวกท่านก็ขายไมได้ เนื่องจากไม่มีคนรับ และเรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว ! ในประวัติศาสตร์ของ Block Trade

3.Margin เป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ หลายท่านอาจไม่รู้ว่า เงินวางประกันในตลาด TFEX ที่พวกเหล่าวิทยากรชอบเปรยกันว่าประมาณ 10% ของมูลค่า นั้นแท้จริงแล้วเป็น “ค่าคงที่ค่านึง” ที่ตลาดเขาคิดขึ้นจาก Factor ต่าง ๆ เช่น มูลค่าสัญญา และใช้อย่างต่อเนื่อง และอีกเรื่อง คือ ค่าเหล่านี้จะเปลี่ยนประมาณเดือนละ 1 ครั้ง คำถามคือ แล้วจะเปลี่ยนตามอะไร ? คำตอบ คือ “ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง” ดังนั้น นี้คือสัญญาณเตือนตัวที่ 3 หากถ้าหุ้นตัวไหนมีการปรับตัว Margin ให้อยู่ในระดับเงินวางต่ำกว่า 5-10% เมื่อไหร่ให้พวกท่านรับรู้ว่า รายใหญ่เขากำลังจ้องหุ้นเหล่านี้อยู่

นี่ถือเหตุผลทั้งหมดที่ทำให้หุ้นบางตัวเวลาราคาลงเกินกว่า 5-10% “ต้องถูก Panic เสมอ” โดยเป็นเรื่องที่รายใหญ่รับรู้โดยทั่วกัน และขึ้นอยู่กับว่าเขาอยากจะเชือดตัวไหนเมื่อไหร่ ดังนั้นนักลงทุนอย่างพวกเราเองก็ต้องคอยหมั่นสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อให้ตัวเองไม่เป็นเหยื่อของพวกเขา

https://pantip.com/topic/37751186

ไม่เลยครับ … ในกระบวนการที่กล่าวไปไม่ได้ราบรื่นแบบนั้น มันยังมีความจริงอีกมุมนึงซ่อนอยู่ ทีนี่ผมอยากลองให้พวกท่านจินตนาการตัวเองเป็นฝั่ง Broker บ้าง หากนักลงทุนเปิด Long แสดงว่าโบรคเกอร์ต้องมีสถานะ Short ถูกไหมครับ ? และ Broker กำลังเผชิญความเสี่ยง นั้นคือ ถ้า PTTEP Futures ปรับตัวเพิ่มขึ้นจะเกิดการขาดทุน แล้วพวกท่านคิดว่าโบรคเกอร์จะยอมเปิดความเสี่ยงให้เกิดขึ้นไหม ? คำตอบคือไม่มีทาง ดังนั้น โบรคเกอร์จึงจำเป็นต้องนำต้องนำเงินของตัวเองไปซื้อหุ้น PTTEP จริง ๆ เก็บเอาไว้ในพอร์ต ให้เท่ากับมูลค่าของ PTTEP Futures ที่ Short ไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงอย่างสมบูรณ์ (Fully Hedge) แปลว่าในทุก ๆ ครั้งที่นักลงทุนสั่ง Block Trade โบรคเกอร์จะนำเงินไปซื้อหุ้นตามที่นักลงทุนสั่งเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเคาะราคาตลาดเลยหรือตั้งรอที่ Bid ใด ๆ ก็ตาม ถ้า order หุ้น Match โบรคเกอร์ก็พร้อมเป็นคู่สัญญาใน Futures ให้ ในขาปิดสถานะก็เช่นเดียวกัน หากนักลงทุนต้องการปิดสถานะ ก็แค่สั่งขายตามราคาและปริมาณที่ต้องการ โบรคเกอร์ก็จะนำหุ้นในพอร์ตที่เก็บไว้ไปตั้งขายในกระดานหุ้น พอธุรกรรมในกระดานหุ้น Match เสร็จสิ้น ก็จะส่ง order ปิดสถานะ Futures ให้กับนักลงทุนผ่านกระดาน Block Trade เป็นอันเรียบร้อยอย่างสมบูรณ์ สำหรับธุรกรรม Block Trade 1 รายการ

ดังนั้นเราลองมาสรุปกันดีกว่า จากการ Wrap up ธุรกรรม Block Trade ให้พวกท่านรับรู้ พวกท่านยังให้ความหมายว่า เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับ Single Stock หรือไม่ ? แต่สำหรับผม คิดว่าจริง ๆ แล้วมันมีอีกความหมายหนึ่งซ่อนอยู่ คือ เป็นธุรกรรมที่นักลงทุนขอให้ Broker เอาเงินไปซื้อหุ้นแทน จากนั้นใช้ Single Stock Futures เป็นเพียงเครื่องมือในการส่งผ่านกำไรขาดทุนของธุรกรรมนั้นเท่านั้น

Q : Block Trade เล่นขา Short ได้ไหม ? A : ได้ครับ ได้เหมือนขา Long เลย (คงเริ่มคิดกันแล้วใช่ไหมครับว่าเวลาตลาดหุ้นลงมีพวกใช้ Block Trade ผสมโรงหรือไม่) ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ Broker ต้องไปหาหุ้นมา Short Sale ซึ่งหากถ้าเขาหาไม่ได้ก็ไม่สามารถ Short ให้เราได้ ต่างจากขา Long ที่ใช้แต่เงินในการซื้อหุ้นจึงไม่ค่อยมีปัญหาในการส่งคำสั่ง นอกจากนี้ยังมีความยุ่งยากในกรณีหุ้นของบริษัทนั้นเกิดการขึ้นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น XM , XA (กรณีไหนบ้างรอผู้รู้ชี้แจงต่อนะครับ) ทาง Broker จะขอให้เราปิดสถานะไปก่อนแล้วค่อยเปิดใหม่ เพราะเขาต้องนำหุ้นกลับไปคืนเจ้าของเพื่อใช้สิทธินั้นๆ

เรามาย้อนความจำกันอีกสักนิด การต่างชาติทำการ Short สุทธิ แสดงว่านักลงทุนต้องเป็นคนสั่ง Long ใน Block Trade แปลว่านักลงทุนใช้ให้โบรคต่างชาติไปซื้อหุ้นให้ จึงสรุปได้ว่าหากต่างชาติ Net Short ให้รู้ว่าเขาถูกนักลงทุนบังคับให้ซื้อหุ้นโดยไม่ได้เป็นความต้องการของตัวเอง

สรุปคือหากถ้านักลงทุนเห็นยอดการซื้อขายผิดปกติของทั้งบล.และต่างชาติ เช่น ขายเยอะผิดปกติให้ทำการดูยอด Single Stock Futures ของทั้ง บล.และต่างชาติ โดยหากออกมาว่าเป็น Long สุทธิ ให้รู้ว่ายอดการขายนั้นเกิดจากรายย่อย Block Trade เสริมแรงลงมาด้วย